เป้าหมายรายสัปดาห์
: นักเรียนสามารถรู้และเข้าใจในความแตกต่างของสภาพ ภูมิศาสตร์ภูมิอากาศ และลักษณะทางกายภาพของแต่ละประเทศได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
2
(13-15
ส.ค 57)
|
โจทย์ : สภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ และลักษณะทางกายภาพ
Key Questions
:
- ทำไมสภาพภูมิศาสตร์ ของแต่ละประเทศแตกต่างกัน
เครื่องมือคิด :
Round Rubin
: ทบทวนกิจกรรม/ปฏิทินการเรียนรู้
Blackboard
Share : จัดเรียงลำดับกิจกรรม
Show and
Share : นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
Wall
Thinking : ปฏิทินการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
:
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
-
ห้องสมุด/หนังสือ
- กระดาษ
บรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี
- กระดาษ A3 A4
|
วันพุธ
ชง
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับปฏิทินที่ออกแบบ/วางแผน(รายบุคคล)ในสัปดาห์ที่1 ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะทำในแต่ละสัปดาห์
ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
เชื่อม
นักเรียนเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาและกิจกรรมของแต่ละสัปดาห์ว่าจะเรียนเรื่องใดบ้างและจะเรียนเรื่องใดก่อน/หลังผ่านเครื่องมือคิด
Blackboard
Share
ใช้
นักเรียนแบ่งเป็น 10
กลุ่มนักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ตามที่ออกแบบไว้ลงในกระดาษแผ่นใหญ่
พร้อมตกแต่งให้สวยงามตามความเหมาะสม
วันศุกร์
ชง
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
- ทำไมสภาพภูมิศาสตร์ ของแต่ละประเทศแตกต่างกันเพราะเหตุใด
เชื่อม
-ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศต่างๆที่มีลักษณะแตกต่างกัน
ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin โดยครูกระตุ้นคิดทำไมภูเขาไฟกระโดงถึงไม่ระเบิด , ทำไมจังหวัดบุรีรัมย์ถึงไม่มีสึนามิ, เขื่อนโนนดินแดงสามารถเกิดสึนามิได้หรือไม่
-
นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม(2-3คน) แล้วจับฉลากเพื่อเลือกประเทศที่จะทำการศึกษาค้นคว้า
ใช้
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม(2-3คน) ทำ Place Mats จากคำถาม ทำไมถึงเกิดภูเขาไฟในบางพื้นที่, ทำไมบางพื้นที่เกิดแผ่นดินไหว, ทำไมบางพื้นที่ปลูกข้าวได้ผลดี, ทำไมน้ำท่วม, ทำไมแต่หละประเทศมีฤดูกาลต่างกัน, ทำไมหิมะไม่ตกในประเทศไทย, ทำไมสัตว์บางชนิดสูญพันธ์
- นักเรียนสรุปเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ผ่าน ชาร์ตความรู้, นิทาน, Place Mats ฯลฯ
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
- ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้
มีอะไรบ้าง
-
นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
-
นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
- นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
-
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ( Mind Mapping,
เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
|
ชิ้นงาน
- ปฏิทินการเรียนรู้(แผ่นใหญ่)
- ชาร์ตความรู้,
นิทาน, Place Mats ฯลฯ เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศที่ตนเองได้
- นิทานเส้นทางของแม่น้ำ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
- ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องสภาพภูมิศาสตร์
ภูมิอากาศ และลักษณะทางกายภาพ/แม่น้ำของประเทศต่างๆในอาเซียน
|
ความรู้
สามารถเข้าใจสภาพภูมิศาสตร์
ที่แตกต่างของแต่ละประเทศในอาเซียนได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
-
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่น สี กระดาษ กรรไกร
- เห็นการเชื่อมโยง
เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการคิด
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบชิ้นงานเช่น นิทาน
- คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ
และลักษณะทางกายภาพของอาเซียน
ทักษะการสื่อสาร
- พูดนำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
ในสัปดาห์นี้พี่ป.5 ต้องทำปฎิทินต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว คุณครูและพี่ๆได้สนทนาเกี่ยวกับปฏิทินที่ออกแบบ/วางแผน(รายบุคคล)ในสัปดาห์ที่1 ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะทำในแต่ละสัปดาห์ พี่ป.5ช่วยกันเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาและกิจกรรมของแต่ละสัปดาห์ว่าจะเรียนเรื่องใดบ้างและจะเรียนเรื่องใดก่อน/หลัง จากนั้น จากนั้นจึงแบ่งเป็น 10กลุ่ม แต่ละกลุ่มจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ตามที่ออกแบบไว้ลงในกระดาษแผ่นใหญ่ พร้อมตกแต่งให้สวยงามตามความเหมาะสม
ตอบลบในวันศุกร์ คุณครูกระตุ้นด้วยคำถาม ทำไมสภาพภูมิศาสตร์ ของแต่ละประเทศแตกต่างกันเพราะเหตุใดพี่ออมตอบว่า “เพราะแต่หละประเทศตั้งอยู่คนหละทีกัน” พี่แจ็บตอบว่า”เพราะแต่หละประเทศไม่เหมือนกัน” จากนั้นครูตามต่อว่าทำไมภูเขาไฟกระโดงจึงไม่ระเบิด พี่ภูมิบอกว่า “เพราะมันดับแล้วครับ” พี่โอ๊คตอบว่า “อาจจะระเบิดก็ได้ครับ” ครูถามต่ออีกว่าสึนามิจะเกิดที่จังหวัดบุรีรัมย์ได้ไหม พี่มิวบอกว่า “ไม่ได้ค่ะเพราะจังหวัดเราไม่มีทะเล” ครูจึงถามต่อว่าแล้วเขื่อนที่อำเภอโนนดินแดงหละก็เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ จะเกิดสินามิได้ไหม พี่ตะวันตอบว่า “อาจจะได้ครับเพราะมีน้ำเพราะมีน้ำเยอะ” พี่โอ๊ค เพิ่มเติม”ว่าสึนามิเกิดจากภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดครับ” จากนั้นพี่ป.5 แบ่งกลุ่มจับฉลากเพื่อทำ place mats โดยแต่หละกลุ่มจะได้คำถามไม่เหมือนกัน ดังนี้ ทำไมถึงเกิดภูเขาไฟในบางพื้นที่, ทำไมบางพื้นที่เกิดแผ่นดินไหว, ทำไมบางพื้นที่ปลูกข้าวได้ผลดี, ทำไมน้ำท่วม, ทำไมแต่หละประเทศมีฤดูกาลต่างกัน, ทำไมหิมะไม่ตกในประเทศไทย, ทำไมสัตว์บางชนิดสูญพันธ์
จากนั้นพี่ป.5 ทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์โดยใช้เทคนิคตามที่ตนเองถนัดและก่อนกลับบ้านพี่ๆยังได้จับฉลากเพื่อเลือกประเทศที่ตนเองจะได้รับผิดชอบค้นคว้าข้อมูลในสัปดาห์ถัดไป