เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: "we are one ตะลุยอาเซียน"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภารดรภาพ ยอมรับความแตกต่างทางประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละสังคม เคารพสิทธิ์ของผู้อื่นและตนเอง รวมทั้งวางแผนเตรียมรับมือหรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีวิจารณญาณ

week1




เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถตั้งชื่อหน่วยและวางแผน/ออกแบบการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์ได้  
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
(4-8 ส.ค 57)
โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
- นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน การเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์อย่างไร
-  เหตุการณ์ที่นักเรียนดีใจ/เสียในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
 นักเรียนจะตั้งชื่อให้สอดคล้องกับหน่วยนี้ว่าอะไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น
เครื่องมือคิด :
Round Rubin  : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงปิดเรียน
Think Pair Share :  ตั้งชื่อหน่วย,
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
Blackboard Share : ตั้งชื่อหน่วย,สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้(แผ่นใหญ่)
Show and Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้รายบุคคล
Wall Thinking : สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้(แผ่นใหญ่)
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู
นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
เรื่องเล่าในช่วงปิดเรียนจากครูและนักเรียน
-หนังสือ/ห้องสมุด
บรรยากาศในชั้นเรียน
กระดาษ (A3,A4)
-  กระดาษบรู๊ฟ
กระดาษ 80 ปอนด์
วันจันทร์
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม
เหตุการณ์ที่นักเรียนดีใจ/เสียใจในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้างและนักเรียนได้เรียนรู้อะไร
นักเรียนจะตั้งชื่อให้สอดคล้องกับหน่วยนี้ว่าอะไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนดีใจ/เสียใจในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้างและ นักเรียนเรียนได้เรียนรู้อะไรผ่านเครื่องมือคิด (Round Rubin)
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการเรียนวิชา PBL ใน Quarter2 ซึ่งนักเรียนได้เลือกไว้ตั้งแต่ Quarter1 ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ อาเซียน ผ่านเครื่องมือคิด (Round Rubin)
 ใช้
นักเรียนตั้งชื่อหน่วยผ่านเครื่องมือคิด Think Pair Share โดยเริ่มจากตั้งชื่อหน่วยด้วยตัวเอง จากนั้นแบ่งเป็น4กลุ่มเล็ก(6-7คน) ช่วยกันตั้งชื่อหน่วยแล้วแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่(13-14คน)นำชื่อหน่วยที่ได้มารวมกันหรือตั้งชื่อใหม่ตามที่สมาชิกในกลุ่มตกลงกันจากนั้นทั้งห้องช่วยกันนำชื่อหน่วยของทั้งสองกลุ่มมารวมกันผ่านเครื่องมือคิดBlackboard Share โดยชื่อหน่วยจะต้องมีความหมายและสอดคล้องกับเรื่องที่เรียน
นักเรียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนเป็น Mind Mapping
วันอังคาร
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม
นักเรียนจะออกแบบชื่อหน่วยอย่างไรให้น่าสนใจและมีความหมายสอดคล้องกับหน่วยที่เรียน
- นักเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับอาเซียนและนักเรียนอยากเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับอาเซียนเพราะเหตุใด
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับชื่อหน่วย “We are one ตะลุยอาเซียน” ว่ามีความหมายอย่างไร ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
 - นักเรียนช่วยกันคิดออกแบบชื่อหน่วย ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนและเรื่องที่นักเรียนอยากเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน 
ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้
นักเรียนแบ่งเป็น3กลุ่ม โดยกลุ่มแรกออกแบบชื่อโครงงานให้น่าสนใจ  กลุ่มที่สองวาดภาพให้สอดคล้องกับเรื่องอาเซียน เพื่อตกแต่งหน้าชั้นเรียนและ กลุ่มที่สามวาดภาพ/ออกแบบชื่อโครงงาน(แผ่นยาว) เพื่อตกแต่งภายในชั้นเรียน
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้(รายบุคล)
วันพุธ
ชง
ครูและนักเรียนสนทนาทนทวนเกี่ยวกับกิจกรรมในวันจันทร์และวันอังคารทีผ่านมาว่านักเรียนได้ทำอะไรและได้เรียนรู้อะไรบ้าง
เชื่อม
-นักเรียนนำเสนอครูและเพื่อนๆในสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ของตนเอง ผ่านเครื่องมือคิด Show and Share
นักเรียนจับกลุ่ม คน เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ลงในกระดาษ A3โดยสิ่งที่เหมือนกันนำมาเพียงข้อเดียวส่วนสิ่งที่แตกต่างนำมาเขียนทั้งหมด ผ่านเครื่องมือคิด Think Pair Share
-นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มตามสี ครูแจกสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้(A3) กลุ่มละ แผ่น จากนั้นให้นักเรียนส่งตัวแทนของกลุ่มไปเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ บนกระดานโดยไม่ซ้ำกับเพื่อนกลุ่มอื่น ผ่านเครื่องมือคิด Blackboard Share
ใช้
- นักเรียนเพื่อเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ลงในกระดาษบรู๊ฟแผ่นใหญ่

วันศุกร์
ชง
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
-นักเรียนนักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง 10 สัปดาห์อย่างไร
เชื่อม
นักเรียน ช่วยกันวางแผนการเรียนรู้ลำดับความสำคัญของเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์ผ่านเครื่องมือคิด
Blackboard Share
ใช้
 นักเรียนออกแบบ/วางแผนปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง 10 สัปดาห์ลงในกระดาษ A3 เป็นรายบุคคล
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
-   นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
-  ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้
-  นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
-  นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
- นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ( Mind Mapping, เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
ชิ้นงาน
Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- ชื่อโครงงาน/รูปภาพที่สอดคล้องกับเรื่องที่เรียน
-  สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้รายบุคคล(A4)
- สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้เป็นกลุ่ม(A3)
- สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้เป็นกลุ่ม
(แผ่นใหญ่)
- ปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง 10 สัปดาห์ (รายบุคคล)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
 ระดมสมองตั้งชื่อหน่วย
- ระดมสมองออกแบบชื่อหน่วย
-วาดภาพตกแต่ง/จัดบรรยากาศภายในห้องเรียนให้สอดคล้องกับหน่วยที่เรียน
แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลประกอบเรื่องที่อยากเรียนรู้
ความรู้
สามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่านการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว, Mind Mapping และสามารถออกแบบวางแผน กระบวนการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม
-   เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
- ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
-   พูด/สื่อสารเหตุการณ์ที่ตนเองดีใจและเสียใจในวันหยุดที่ผ่านมาได้
-   เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบปฏิทินได้
ทักษะการคิด
  -คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้
คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น




















2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12 สิงหาคม 2557 เวลา 14:16

    ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ12 สิงหาคม 2557 เวลา 14:43

    สัปดาห์แรกของการเปิดเรียน Q.2 พี่ๆ ป. 5 ต่างดีใจที่ได้เจอเพื่อนต่างคนก็ต่างมีเรื่องราวมากมายที่จะถ่ายทอดให้เพื่อนฟัง ครูดอกไม้จึงได้ให้พี่ๆป.5 แลกเปลียนเรื่องราวในช่วงปิดเรียน โดยใช้คำถามกระตุ้นคิดว่า เหตุการณ์ที่นักเรียนดีใจ/เสียใจในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้างและนักเรียนได้เรียนรู้อะไร เนื่องจากพี่ๆป.5 เลือกหน่วยที่จะเรียนไว้แล้วใน Q.1 ดังนั้นในสัปดาห์นี้จึงสามารถตั้งชื่อหน่วยได้เลย โดยครูใช้คำถามกระตุ้นคิดว่า นักเรียนจะตั้งชื่อให้สอดคล้องกับหน่วยนี้ว่าอะไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้นเด็ก เริ่มจากคิดด้วยตัวเองได้ชื่อโครงงานที่น่าสนใจหลายชื่อ เช่น ทัวโลกเปิดตำนานอาเซียน,ไขปริศนาอาเซียนสุดขอบโลก,we are อาเซียน,เปิดกะลาหาอาเชียน จากนั้นแบ่งเป็น4 กลุ่มใหญ่เด็กๆช่วยกันคิดอย่างตั้งใจและสุดท้ายก็ได้ชื่อหน่วยที่ว่า" we are one ตะลุยอาเซียน" ในวันอังคารเด็กๆได้ออกแบบชื่อโครงงานและวาดภาพตกแต่งบรรยากาศภายในชั้นเรียน วันพุธเด็กๆได้ทำสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้ของตัวเองและช่วยกันทำแผ่นใหญ่ติดผนังห้องเรียน และในวันศุกร์เด็กๆ ได้ช่วยกันออกแบบวางแผนปฏิทินการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์และสรุปความเข้าใจหลังการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1 ตามเทคนิคที่ต้องการ( Mind Mapping, เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)

    ตอบลบ