เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: "we are one ตะลุยอาเซียน"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภารดรภาพ ยอมรับความแตกต่างทางประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละสังคม เคารพสิทธิ์ของผู้อื่นและตนเอง รวมทั้งวางแผนเตรียมรับมือหรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีวิจารณญาณ

week4




เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถรู้/เข้าใจและยอมรับในความแตกต่างของการเมืองการปกครอง หน้าทีพลเมือง และสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
Week
Input
Process
Output
Outcome
4
(25-29 ส.ค 57)
โจทย์ : การเมืองการปกครอง หน้าทีพลเมือง และการดำเนินชีวิตในสังคม
Key Questions :
- ทำไมแต่หละประเทศมีการปกครองที่ไม่เหมือนกันเพราะเหตุใด
- ทำไมต้องมีกฎหมายและกฎหมายของแต่หละประเทศเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
- ทำไมชาวโรฮิงญาถึงถูกขับไล่ออกจากประเทศ
เครื่องมือคิด :
Mind mapping: สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองของประเทศสมาชิกอาเซียน
Round Rubin  : สนทนาเกี่ยวกับการปกครองในระบอบต่างๆBlackboard Share:  ระบอบการปกครองของประเทศที่ตนเองได้รับมอบหมาย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู
นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
บรรยากาศในชั้นเรียน
- ห้องสมุด/หนังสือ
สี/ปากกาเคมี
- กระดาษ A3 A4
วันจันทร์
ชง
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการปกครองในระบอบต่างๆว่ามีอะไรบ้างโดยครูใช้คำถามกระตุ้นคิดว่าทำไมแต่หละประเทศมีการปกครองที่ไม่เหมือนกันเพราะเหตุใดผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
เชื่อม
- นักเรียนค้นคว้าเกี่ยวกับระบอบการปกครองของประเทศที่ตนเองได้รับมอบหมายพร้อมนำเสนอครูและเพื่อนฟังผ่านเครื่องมือคิด Blackboard  Share
- นักเรียนช่วยกันคิดวิเคราะห์ว่าการปกครองของประเทศที่ตนเองได้รับมอบหมายเหมือนหรือต่างจากเพื่อนกลุ่มอื่นอย่างไรผ่านเครื่องมือคิด
Round Rubin
ใช้
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองของประเทศสมาชิกอาเซียน ว่ามีการปกครองระบอบใดบ้างและมีประเทศใดที่มีการปกครองระบอบนั้นๆพร้อมยกสถานการณ์ตัวอย่าง ผ่านเครื่องมือคิด Mind mapping(รายบุคคล)
วันอังคาร
ชง
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ในแต่หละประเทศ โดยครูใช้คำถามกระตุ้นคิดว่านักเรียนคิดว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของแต่หละประเทศเหมือนหรือต่างกันอย่างไรเพราะเหตุใดผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
เชื่อม
-นักเรียนกลุ่มที่ได้ประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆฟังว่าระบอบประชาธิปไตยในประเทศนั้นเป็นอย่างไรเหมือนหรือแตกต่างจากประเทศอื่นอย่างไรผ่านเครื่องมือคิด Show and Share
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับกฎหมายโดยครูใช้คำถามกระตุ้นคิดว่า กฎหมายในความเข้าใจของนักเรียนคืออะไร
ใช้
-นักเรียนชักเย่อความคิดโดยครูใช้คำถามกระตุ้นคิดว่านักเรียนเชื่อหรือไม่ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่บริสุทธิ์และยุติธรรมเพราะเหตุใด
- นักเรียน
วันพุธ
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
-ทำไมแต่ละประเทศจึงต้องมีกฎหมาย ไม่มีกฎหมายได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาว่ากฎหมายในประเทศต่างๆทำไมจึงไม่เหมือนกันผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- นักเรียนศึกษาค้นคว้าว่ากฎหมายของประเทศที่ต้นเองได้รับมอบหมายเป็นว่าอย่างไรเพราะเหตุใด
ใช้
- นักเรียนทำการ์ตูนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายของประเทศตนเองพร้อมนำเสนอให้ครูและเพื่อนฟังผ่านเครื่องมือคิด Show and Share
วันศุกร์
ชง
ครูกระตุ้นคิดโดยการเล่าเรื่องของชาวโรฮิงญาให้นักเรียนฟังและเปิดคลิป VDO เรื่องชาวโรฮิงญาให้นักเรียนดู

เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาถึงเรื่องราวของชาวโรฮิงญาผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin โดยครูใช้คำถามกระตุ้นคิดว่า นักเรียนรู้สึกกอย่างไรเพราะเหตุใด ถ้านักเรียนตกอยู่ในสถานการณ์นั้นนักเรียนจะรู้สึกอย่างไร
- นักเรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชาวโรฮิงญา
ใช้
- นักเรียนวิเคราะห์/วิจารณ์ จากคลิปVDOที่ได้ดู
- นักเรียนแบ่งเป็น 4 กลุ่มแล้วให้นักเรียนจำลองสถานการณ์ว่าตนเองเป็นหนึ่งในชาวโรฮิงญา ว่าจะต้องเจอกับเหตุการณ์อะไรบ้างและทำอย่างไรกับสถานณ์การนั้นผ่านละคร
- ซ้อมละคร
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้ มีอะไรบ้าง
-  นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
-  นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
- นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
- Mind mapping :
สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองของประเทศสมาชิกอาเซียน
-วิเคราะห์การปกครองของประเทศที่ตนเองได้
- ชาร์ตความรู้กฎหมายในความเข้าใจของหนู
- การ์ตูนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายของประเทศตนเอง
- วิเคราะห์/วิจารย์เรื่องราวของชาวโรฮิงญา
-ละครจำลองสถานการณ์ว่าตนเองเป็นชาวโรฮิงญา
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-  ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องการปกครองของประเทศต่างๆในอาเซียน
- ศึกษาข้อมูลเรียนรู้เกียวกับกฎหมายของในแต่หละประเทศ
- ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องชาวโรฮิงญา
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
ความรู้
- สามารถเข้าใจความแตกต่างของระบอบการปกครองต่างๆและสามารถยอมรับได้
- เข้าใจวิถีความเป็นอยู่อย่างชาวโรฮิงญา
 ทักษะ:
 ทักษะชีวิต
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่น สี กระดาษ กรรไกร
-เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการคิด
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบชิ้นงานเช่น นิทาน
-  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการปกครองที่แตกต่างกันของแต่หละประเทศ
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ว่าเมื่อเปิดประชาคาอาเซียนระบบเศรษฐกิจจะดีขึ้นจริงหรือไม่
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ว่าทำไมชาวโรฮิงญาถึงมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างนั้น
ทักษะการสื่อสาร
 พูดนำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
  สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
    













































































2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ในสัปดาห์นี้พี่ป.5 จะเรียนรู้ในเรื่องการเมืองการปกครอง คุณครูและพี่ป.5สนทนาเรื่องการเมืองการปกครองของแต่หละประเทศว่าเป็นอย่างไร นักเรียนรู้และเข้าใจอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการปกครองจากนั้นพี่ๆได้ค้นคว้าหาข้อมูลการปกครองของประเทศตนเอง แล้วพี่ป.5 ก็ได้วิเคราะห์การปกครองของประเทศตนเองแล้วสรุปความเข้าใจเป็น Mind Mapping ว่าแต่หละประเทศมีการปกครองแบบใด ในวันอังคาร กลุ่มที่ได้ประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยถ่ายทอดให้เพื่อนฟังว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบใดบ้างแตกต่างกันอย่างไร พี่ออมถ่ายทอดการปกครองแบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขว่ามีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศแต่อำนางสูงสุดอยู่ที่พระมหากษัตริย์ พี่แจ็บช่วยถ่ายทอดการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ว่าประธานาธิบดีมีอำนาจสูงสุดและสามารถตัดสินทุกอย่างภายในประเทศได้ และพี่ป.5 บางคนสับสนในการปกครองของประเทศไทยว่าเป็นแบบประชาธิปไตยแต่ทำไมทหารเป็นคนคุมอำนาจ พี่โอ๊คช่วยอธิบายให้เพื่อนฟังว่าทหารจะปกครองแค่ชั่วคราวเพราะบ้านเมืองมีสถานการไม่ปกติผู้คนทะเลาะกัน จากนั้นพี่ป.5 ได้ร่วมกันชักเย่อความคิดโดยครูตั้งคำถามว่า เชื่อหรือไม่ว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่บริสุทธิ์และยุติธรรม ในวันพุธพี่ป.5 ได้ทำการ์ตูนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายของประเทศตนเองจากที่ได้หาข้อมูลมาจากบ้าน พี่ๆหลายคนต่างเขียนการ์ตูนออกมาได้อย่างน่าสนใจ พี่เช็ควาดการ์ตูนนำเสนอกฎหมายประเทศไทยว่าในตอนกลางวันรถมอเตอร์ไซก็ต้องเปิดไฟและคนขับก็ต้องสวมหมวกกันน็อกด้วย พี่ใบเตยนำเสนอกฎหมายของประเทศอินโดนีเซียว่าไม่ให้ชี้สิ่งต่างๆด้วยนิ้วชี้แต่ให้ใช้นิ้วโป้งแทน พี่ครัชนำเสนอกฎหมายของประเทศบรูไน ว่าห้ามใส่เสื้อสีเหลืองเพราะเป็นการลบลู่พระมหากษัตริย์ ในวันศุกร์ครูได้เล่าเรื่องราวของชาวโรฮิงญาให้พี่ๆได้ฟังและเปิดคลิป VDO เรื่องชาวโรฮิงญาให้พี่ๆดู ขณะดูคลิปหลายคนทำหน้าตาเหยเก บางคนปิดตา ใกล้ๆจบคลิปเป็นการเชิญชวนให้บริจากให้ชาวโรฮิงญาคุณครูจะปิดเพราะหมดเนื้อหาที่ต้องการให้ดูแล้วแต่พี่ป.5 บอกว่าอย่าปิดครับ/ค่ะ เผื่อจะช่วยบริจาคให้เขาได้ พี่มิวบอกว่าเอาเงินห้องบริจาคช่วยเขาได้ไหมค่ะ เพื่อนหลายคนสนับสนุน ครูถามพี่ๆว่ารู้สึกอย่างไรหลายคนบอกสงสาร บางคนบอกว่าเห็นแล้วกินข้าวไม่ลง ครูเลยทิ้งคำถามให้พี่ป.5 ว่าถ้าเรื่องราวเหล่านี้เกิดกับเราและคนใกล้ตัวหละจะเป็นอย่างไร จากนั้นครูได้ให้พี่ๆวิเคราะห์/วิจารณ์เรื่องราวที่ได้ดู และพี่ป.5ทำสรุปความรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ